สภาพทั่วไป


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง

ประกอบด้วย
                1สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง
                                เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล   พ.ศ.2542  เมื่อวันที่  25 พฤษภาคม  2542   ( สุขาภิบาลทุ่งโฮ้ง จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย   เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งโฮ้ง  อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่  ลงวันที่ 12 ธันวาคม  2510  ประกาศใน       ราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ 84 ตอนที่  125  ลงวันที่   26  ธันวาคม   2510 )
                1.1  ลักษณะที่ตั้ง / อาณาเขต
                                เดิมเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   มีพื้นที่  4  ตารางกิโลเมตร    ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งโฮ้งแต่เนื่องจากได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย     เรื่อง     การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล   ลงวันที่  6  กันยายน    2547   โดยยุบองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโฮ้งรวมกับเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง    และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาทั่วไป   เล่ม    121 ตอนพิเศษ 102  ลงวันที่  15  กันยายน  2547   ทำให้ปัจจุบันเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  มีพื้นที่  13.5  ตารางกิโลเมตร  ครอบคลุม พื้นที่ทั้ง  7   หมู่บ้านของตำบลทุ่งโฮ้ง    ได้แก่
  หมู่ที่  1   บ้านทุ่งโฮ้งใต้                 ได้จัดตั้งเป็นชุมชนหมู่ที่  1
  หมู่ที่  2   บ้านทุ่งโฮ้งเหนือ           ได้จัดตั้งเป็นชุมชนหมู่ที่  2
  หมู่ที่  3   บ้านร่องถ่าน  ได้จัดตั้งเป็นชุมชนหมู่ที่  3
  หมู่ที่  4   บ้านกอเปา                      ได้จัดตั้งเป็นชุมชนหมู่ที่  4
  หมู่ที่  5   ได้จัดตั้งเป็นคณะกรรมการชุมชน  3  ชุมชน ได้แก่  ชุมชนนพเก้า  ชุมชนร่มโพธิ์         
              ทอง   และชุมชนทุ่งเจริญ
  หมู่ที่  6    บ้านทุ่งโฮ้ง                    ได้จัดตั้งเป็นชุมชนหมู่ที่ 6
  หมู่ที่  7    บ้านทุ่งโฮ้ง                    ได้จัดตั้งเป็นชุมชนหมู่ที่  7
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง    ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่  ประมาณ  3  กิโลเมตร
โดยมีอาณาเขตติดต่อ    ดังนี้
ทิศเหนือ               ติดต่อกับ  ตำบลแม่หล่าย                   อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่
ทิศใต้                     ติดต่อกับ  ตำบลทุ่งกวาว                    อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ  ตำบลร่องฟอง                   อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่
                               ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ  ตำบลแม่ยม                        อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่

1.2  สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
      ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง    มีสภาพพื้นที่ส่วยใหญ่เป็นที่ราบ    มีเส้นทางสายหลักเข้าสู่ชุมชน 
2  เส้นทาง    ได้แก่  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  101 ( สายแพร่-ร้องกวาง )    และถนนยันตรกิจโกศลในเขตเทศบาลมีแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่ง ได้แก่  ห้วยรากไม้    ห้วยหัวช้าง     ห้วยร่องฟอง   ห้วยร่องม่วง เป็นต้น
      ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง        มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม   
  มี   3   ฤดู คือ

ฤดูร้อน      เป็นระยะที่ร้อนและแห้งแล้ง  ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม  ที่พัดมาจากบริเวณความกด       
     อากาศสูงในทะเลจีนใต้  อุณหภูมิสูง  มีฝนเล็กน้อย  เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึง 
     กลางเดือนมิถุนายน
ฤดูฝน       เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน                -             เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว    เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน          -             เดือนกุมภาพันธ์
1.3  สภาพเศรษฐกิจ
      ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรได้จากการทำนา  ทำไร่    เลี้ยงสัตว์    ค้าขายผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนั้นยังประกอบอาชีพ เช่น  การตัดเย็บผ้าหม้อห้อม    ทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน   มีประชาชนบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างในตัวจังหวัด   และต่างจังหวัด  ประชาชนส่วนใหญ่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของภาคเหนือ   และสภาพสังคมเป็นชนบท     มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย  สถาบันครอบครัวอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่  และให้ความสำคัญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
                2ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2.1  การคมนาคม/ขนส่ง
      เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   อยู่ตั้งห่างจากตัวอำเภอเมืองแพร่ประมาณ    3  กิโลเมตร  การเดินทางเข้าไปในตัวจังหวัดมีความสะดวกโดยทางรถยนต์   ( ถนนยันตรกิจโกศล )   สภาพถนนในหมู่บ้านส่วนมากจะเป็นถนนลาดยาง   และถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  ( ค.ส.ล )
2.2  การไฟฟ้า
      หน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริการด้านกระแสไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค   ปัจจุบันบ้านเรือนในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้งมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน จำนวน   2,690 ครัวเรือน   และถนนในเขตเทศบาลส่วนมากมีไฟฟ้าสาธารณะใช้   แต่มีบางซอยที่ยังไม่มีไฟฟ้าสาธารณะ
2.3  การประปา
      ประชาชนส่วนใหญ่ ใช้บริการประปา    ดังนี้
1.             การประปาเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  เป็นระบบประปาขนาดกลาง ตามแบบกรมอนามัย
ให้บริการควบคุมพื้นที่ หมู่ที่  5    และ  หมู่ที่    6     บริหารงานโดยเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง
2การประปาหมู่บ้าน   หมู่ที่  3  บ้านร่องถ่าน          ให้บริการควบคุมพื้นที่  หมู่ที่  3  บริหารงาน
โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน
3การประปาหมู่บ้าน   หมู่ที่  4   บ้านกอเปา             ให้บริการควบคุมพื้นที่ หมู่ที่  4  บางส่วน      
บริหารงานโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน
4การประปาหมู่บ้านคุรุนิเวศน์   หมู่ที่  4                   ให้บริการควบคุมพื้นที่ หมู่ที่ 4  บางส่วน  
บริหารงานโดยเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง
5การประปาหมู่บ้าน   หมู่ที่  2   บ้านทุ่งโฮ้งเหนือ ให้บริการควบคุมพื้นที่  หมู่ที่  2     
บริหารงานโดยเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง
2.4  การสื่อสารและการโทรคมนาคม
      ภายในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง    ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข     ใช้ข่ายวิทยุสื่อสารของปกครองอำเภอ   วิทยุตำบล    วิทยุเทศบาลตำบล  สถานีวิทยุอนามัยตำบล  และ โทรศัพท์
                3ด้านเศรษฐกิจ
3.1  โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
       ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  ประกอบอาชีพทางด้านเกษตร  คือ  มีรายได้จากการทำนา   ทำไร่  เลี้ยงสัตว์     ค้าขายผลผลิตทางการเกษตร     การพานิชยกรรม/การบริหารและการท่องเที่ยว   นอกจากนั้นมีรายได้จากอาชีพการตัดเย็บผ้าหม้อห้อม   การทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน และบางส่วนมีรายได้จากการประกอบอาชีพรับจ้างในตัวจังหวัดและต่างจังหวัด
3.2  การเกษตรกรรม
       บริเวณพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม  มีการปลูกข้าว    ถั่วเหลืองและพืชผักสวนครัว   และมีบางส่วนประกอบอาชีพนอกเขตเทศบาล
3.3  การอุตสาหกรรม
       การประกอบกิจการอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   มีการค้าขายผลิตภัณฑ์   จากผ้าหม้อ
ห้อม   และมีอุตสาหกรรมในครัวเรือน   คิดเป็นร้อยละ 75   ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง   จำนวน  3  แห่ง ( มีคนงานไม่ต่ำกว่า 10 คน  หรือทรัพย์สินถาวรไม่ต่ำกว่า 1ล้านบาทขึ้นไป )  มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก จำนวน 18 แห่ง ( มีคนงานต่ำกว่า 10 คน หรือ ทรัพย์สิน ถาวรไม่เกิน 1 ล้านบาท )
3.4  การพาณิชยกรรม / การบริการ
       สภาพการค้าในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  มีตลาดสด มีจำนวน  1  แห่ง   ธนาคารไทยพาณิชย์แพร่  สาขาย่อยทุ่งโฮ้ง จำนวน  1  แห่ง , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  1  แห่ง , สถานบริการโรงแรม  จำนวน  2  แห่ง , ปั๊มน้ำมัน  จำนวน  3   แห่ง มีที่ทำการตำรวจชุมชน  จำนวน 1 แห่ง
3.5  การท่องเที่ยว
                      ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้งมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ  คือ
      3.5.1  มีร้านค้าผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม    ในการขายปลีกและขายส่ง   มีศูนย์ให้ความรู้เกี่ยวกับ
ขั้นตอนการทำผ้าหม้อห้อมแท้   ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำในตำบลทุ่งโฮ้ง   และผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญเมืองแพร่   ที่ว่า  " หม้อห้อม  ไม้สัก  ถิ่นรักพระลอ  ช่อแฮศรีเมือง  ลือเลื่องแพะเมืองผี   คนแพร่นี้ใจงาม "  และยังเป็นสิ่งจูงใจให้นักท่องเที่ยว เข้ามาซื้อขาย   ยังทำให้ประชาชนในตำบลทุ่งโฮ้งมีรายได้เพิ่มขึ้น   เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นทุกๆปี
3.6  การปศุสัตว์
      มีการเลี้ยงโคนม  ไก่  และสุกร   เป็นอาชีพเสริมแบบครัวเรือน
4ด้านสังคม
4.1  จำนวนประชากรแยกตามเพศและอายุ  และลักษณะโครงสร้างประชากรโดยทั่วไป
      จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  มีจำนวนทั้งสิ้น   6,๒๖๐ คน  
       จำนวนครัวเรือน  จำนวน   2,๗๑๓   ครัวเรือน
ข้อมูล  ณ   เดือน  พฤษภาคม  2554
หมู่บ้าน
ครัวเรือน
ชาย
หญิง
รวม
 ( คน )
 ( คน )
 ( คน )
หมู่บ้านที่1
420
516
617
1133
หมู่บ้านที่ 2
498
556
615
1171
หมู่บ้านที่ 3
179
267
253
520
หมู่บ้านที่ 4
497
433
467
900
หมู่บ้านที่ 5
435
448
557
1005
หมู่บ้านที่ 6
386
380
484
864
หมู่บ้านที่ 7
298 
325
342
667





รวม
2713
2925
3082
6260

4.2  การศึกษา  ศาสนา  ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
( 1การศึกษา
         สถานศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  มีดังนี้
                1โรงเรียนบ้านทุ่งโฮ้งเหนือ  ( อภิวังวิทยาลัย )   ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6   ตำบลทุ่งโฮ้ง  เป็นโรงเรียนระดับ   
                      มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาแพร่  เขต  1
                2โรงเรียนอนุบาลภรณ์กมล   ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5   เป็นโรงเรียนในระดับอนุบาลของเอกชน
                ๓.  โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๕  เป็นโรงเรียนอนุบาลของเทศบาล
                ๔ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  1  แห่ง  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๕  ได้แก่  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง
( 2ศาสนา
                             ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง    นับถือศาสนาพุทธ  ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   มีวัด   จำนวน 2 แห่ง   ได้แก่  วัดทุ่งโห้งใต้   ตั้งอยู่  หมู่ที่ 5  , วัดทุ่งโห้งเหนือ   ตั้งอยู่  หมู่ที่ 5  และมีสำนักสงฆ์   จำนวน  1  แห่ง คือ   สำนักสงฆ์ดอยปัง   ตั้งอยู่ที่บ้านกอเปา   หมู่ที่ 4  ตำบลทุ่งโฮ้ง

( 3ประเพณี
       ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลจะยึดถือตามประเพณีดั้งเดิมเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนไทย  เช่น ประเพณีการแต่งงาน   ประเพณีการบวชนาค ( ชาวแพร่นิยมเรียก "ปอย" )  ประเพณีการจัดงานศพ ฯลฯ และแตกต่างจากประเพณีชาวไทยในภาคอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด   เช่น ประเพณีบูชาท้าวทั้งสี่  ประเพณีเอาขวัญ ( เรียกขวัญหรือบายศรีสู่ขวัญ )   ประเพณีส่งเคราะห์   ประเพณีส่งแถน  ประเพณีสืบชะตา  ส่วนประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา  เช่น  ประเพณีแห่ครัวตานเข้าวัด  ประเพณีตานก๋วยสลาก   ประเพณีเทศน์มหาชาติ ( งานยี่เป็ง )   ซึ่งพิธีกรรมก็ไม่แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ   ในภาคเหนือมากนักส่วนงานประเพณีที่เกี่ยวกับเทศกาล   เช่น งานเทศกาลสงกรานต์รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ    งานประเพณีแห่เทียนพรรษา    งานประเพณีลอยกระทง นอกจากนี้ ยังมีงานประเพณี  "กำฟ้าซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง   เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   ดำเนินการจัดงานประเพณี  " กำฟ้า "    ขึ้นช่วง 3 ค่ำ   เดือน 5  เหนือ  ประมาณเดือน  มกราคม กุมภาพันธ์ของทุกปี

                ( 4ศิลปวัฒนธรรม
         ศิลปะ 
                                ศิลปะรูปแบบของชาวล้านนาภาคเหนือทั่วไป   เช่น   ด้านดนตรี    ดนตรีพื้นบ้านจะประกอบด้วย   สะล้อ  ซอ  ซึง  ส่วนศิลปะการฟ้อนรำ  มีการฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน ฯลฯ   นอกจากนี้ยังมีศิลปหัตถกรรม   เช่น  การตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อห้อม   เครื่องปั้นดินเผา  เป็นต้น
        วัฒนธรรม 
                                ในด้านวัฒนธรรมการกินอยู่  ประชาชนส่วนใหญ่จะบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักรับประทานอาหารเมืองพื้นเมือง   วัฒนธรรมการแต่งกาย   ผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อของชาวแพร่  คือ ผ้าหม้อห้อมและวัฒนธรรมการซอ    การจ๊อย   การเล่าค่าว
                ภาษา
                                ชาวทุ่งโฮ้ง    ส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทยพวน   มีภาษาพูดที่มีเอกลักษณ์ของชาวไทยพวน   บ้านทุ่งโฮ้ง  เช่น  แจ่ว (น้ำพริก)  มะเด่น ( มะเขือเทศ )  ไปเกอ ( ไปที่ไหน )  บ่วง ( ช้อน )  เอ็ดหัง ( ทำอไร ) เป็นต้น

 4.3  การสาธารณสุข
                             จำนวนสถานบริการสาธารณสุขในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์สุขภาพชุมชนตำบล  1  แห่ง    คลินิก  2  แห่ง    ร้านขายยา  3  ร้าน   สำหรับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลอยู่ในเกณฑ์ดี   ได้รับการบริการด้านสาธารณสุขขั้นมูลฐานพอสมควร    มีส้วมใช้ทุกครัวเรือน    มีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคอย่างเพียงพอ   มีการจัดการด้านขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบ

                4.4  การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  ได้ให้การสงเคราะห์แก่คนชรา   ผู้ยากไร้    คนพิการ   ผู้ด้อยโอกาส 
และผู้ติดเชื้อเอดส์

                4.5  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิต  และทรัพย์สินของประชาชน
โดยติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ  ในจุดที่ประชาชนสัญจรไป -มา  เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ  และจัดทำโครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนในเขตเทศบาลให้มีสภาพที่ดี  หน่วยบริการประชาชน  จำนวน  ๑ แห่ง  ศูนย์อปพร.  จำนวน   ๑  แห่งสมาชิก อปพร.เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  จำนวน ๘๓ คน

5ด้านการเมือง การบริหาร
      5.1  โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของเทศบาลตำบล
 เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   มีการจัดองค์กรการบริหารออกเป็น  2  ส่วน   คือ
1สภาเทศบาล      ประกอบด้วย  สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  จำนวน 12  คน  อยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี   ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนปวงชนในเขตเทศบาล   มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติ  ร่างแผนพัฒนาเทศบาล   พิจารณาปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับกิจการของเทศบาลตามที่กฎหมายกำหนด  และให้มีประธานสภาเทศบาลคนหนึ่งและรองประธานสภาเทศบาลคนหนึ่ง   ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล


2นายกเทศมนตรี    ประกอบด้วย    นายกเทศมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ
ประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้หริหารท้องถิ่น  และนายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี   ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ไม่เกิน 2 คน   อาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี   ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาล ได้จำนวนรวมกันไม่เกิน  2  คน  มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล  ให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ ข้อบังคับ   เทศบัญญัติ  และนโยบาย  เป็นต้น    ทั้งนี้ให้มีพนักงานเทศบาลและจัดแบ่งการบริหารออกเป็นส่วนๆตามปริมาณและคุณภาพของงาน  โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชา  และรับผิดชอบในงานประจำของเทศบาล
5.2  ฐานะทางการคลังของเทศบาลย้อนหลัง  3  ปี
การบริหารรายรับ
ปีงบประมาณ  2551           เป็นเงิน      40,355,249.19  บาท
ปีงบประมาณ  2552           เป็นเงิน      89,549,322.73  บาท
ปีงบประมาณ  2553           เป็นเงิน      ๕๘,๕๔๑,๐๕๔.๘๕  บาท
การบริหารรายจ่าย
ปีงบประมาณ  2551           เป็นเงิน       37,873,552.47  บาท
ปีงบประมาณ  2552           เป็นเงิน       88,998,074.04  บาท
ปีงบประมาณ  2553            เป็นเงิน      ๕๘,๒๓๐,๗๘๘.๐๗  บาท

                5.3  บทบาท/การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร
ประชาชนมีส่วนร่วมในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล   และใช้สิทธิเลือกตั้ง
สมาชิกสภาเทศบาล    ตลอดจนส่งเสริมให้คณะกรรมการชุมชนที่จัดตั้งขึ้น  มีส่วนรวมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล   และเป็นสื่อกลางในการรับฟังความคิดเห็น   ปัญหาของชุมชน  รวมทั้งสะท้อนความต้องการ ข้อเสนอของชุมชนต่อเทศบาลและประชาชนโดยทั่วไป   ให้ความสำคัญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยร่วมรับข่าวสารทางการเมือง    การปกครอง   กระแสความต้องการภายในและการวิพากษ์   วิจารณ์  ของสื่อมวลชนมีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาว  ในอนาคตคนรุ่นใหม่ที่มีแนวความคิด   ทางด้านการเมืองจะมีโอกาสเข้ามาแทนที่คนรุ่นเก่าที่กำลังถูกกระแสสังคมตรวจสอบ    การเชื่อผู้นำคงมีอยู่ต่อไปและมีการให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
       5.4  การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สินและสวัสดิการของประชาชน
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  มียานพาหนะที่ใช้ในการอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน ดังนี้
1รถดับเพลิงโตโยต้า                                      ( หมายเลขทะเบียน น.0377 )                          ราคา  185,000.- บาท
ซื้อเมื่อวันที่  13  สิงหาคม  2513
2รถยนต์แคป  ยี่ห้อโตโยต้า                           ( หมายเลขทะเบียน  บ.5063 )                         ราคา   346,000.- บาท
ซื้อเมื่อวันที่   1   ตุลาคม  2533
3รถบรรทุกมูลฝอย                                          (  หมายเลขทะเบียน 80-9491 )                       ราคา   612,000.- บาท
ซื้อเมื่อวันที่  17  กันยายน  2536
4รถยนต์ตรวจการณ์ 4 ประตู                        ( หมายเลขทะเบียน 7775 )                              ราคา   550,000.- บาท
ซื้อเมื่อวันที่  3  พฤษภาคม  2539
5รถขยะมูลฝอย                                             ( หมายเลขทะเบียน 80-8710 )                        ราคา 1,500,000.- บาท
ซื้อเมื่อวันที่  29  ธันวาคม   2540
6รถดับเพลิงมิตซูฟูโซ่                                   ( หมายเลขทะเบียน ป 0235 )                          รับจากกรมการปกครอง
เมื่อวันที่  11  พฤษภาคม  2536
7รถบรรทุกน้ำ                                               (  หมายเลขทะเบียน 80-9113 )                       รับจากกรมการปกครอง
เมื่อวันที่  11  พฤษภาคม  2536
8. รถยนต์กระเช้าไฟฟ้า                                     หมายเลขทะเบียน 81-0618 )                       ราคา  1,795,000 .- บาท
เมื่อวันที่  27  กันยายน  2548
9. รถยนต์บรรทุก  ยี่ห้ออีซูซุ                             หมายเลขทะเบียน 81-1156 )                       ราคา     618,900 .- บาท
เมื่อวันที่  17  ตุลาคม  2549
10. รถตู้นั่ง 4 ตอน   ยี่ห้อโตโยต้า                   หมายเลขทะเบียน นข-1691 )               ราคา   1,070,000 .- บาท
เมื่อวันที่  2  พฤษภาคม  2551
11. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล  ยี่ห้อมิตซูบิชิ    หมายเลขทะเบียน บธ-9571 ) ราคา     250,000 .- บาท
เมื่อวันที่  16  มิถุนายน  2551
12. รถบรรทุกของเหลว (น้ำ)  ยี่ห้อฮีโน่        หมายเลขทะเบียน 81-2151 )                  ราคา  1,895,000 .- บาท
เมื่อวันที่  11  กันยายน  2551
13.  รถยนต์ส่วนกลาง ๔ ประตู                       (หมายเลขทะเบียน  กง  ๔๐๑๐ แพร่)            ราคา    ๗๔๐,๐๐๐ .- บาท
     
      5.5  สถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น
สถิติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  เมื่อวันที่  24  สิงหาคม  2551   มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  จำนวน   4,833  คน    และผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน  3,853  คน    คิดเป็นร้อยละ 79.73  ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง   ปัจจุบันเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   มีประชากรทั้งหมด  6,304 คน   มีจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จำนวน  4,833 คน
6ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         6.1  ทรัพยากรน้ำ
พื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้งมีลำน้ำที่สำคัญ คือ ห้วยร่องถ่าน  ห้วยรากไม้  ห้วยหัวช้าง  ห้วยร่องฟอง
ห้วยร่องม่วง   ห้วยร่องเคาะ ห้วยแม่คำแปง ลำห้วยร่องแซว   และ ลำห้วยร่องปุง  ซึ่งใช้ประโยชน์โดยเฉพาะ
การเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์
                        6.2  ทรัพยากรป่าไม้
มีพื้นที่ป่าไม้ที่มีคุณภาพดี เช่น ไม้สัก ไม้เบญจพรรณ และอื่นๆ  ทางรัฐบาลมีนโยบายชักชวนประชาชนร่วมกันปลูกป่า ตามโครงการปลูกป่าตามนโยบายรัฐบาล
                6.3  ทรัพยากรธรณี
ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม พื้นที่ในการทำการเกษตรกรรมลดลง เนื่องจากการขยายตัวของประชากรมีมากขึ้น ส่วนพื้นที่ราบใช้เป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัย    
               

6.4  สภาพสิ่งแวดล้อม
ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  มีแหล่งน้ำและอากาศดี  มีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมระดับมูลฐานพอสมควร  มีการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลโดยทางเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง   จ้างเหมาเอกชนจัดเก็บขยะ
ปริมาณขยะมูลฝอย                             0.64 กิโลกรัม  /  คน /  วัน
รถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอย                ขนาดเล็ก  1  คัน                 ขนาดความจุ   2.77  ลบ.หลา
ซื้อเมื่อ  พ.ศ. 2536
                                                                                ขนาดใหญ่  1 คัน                                ขนาดความจุ   8.25   ลบ.หลา
                                                                                ซื้อเมื่อ  พ.ศ. 2540
ถังรองรับขยะมูลฝอย                                                                                                                         ๖๒๐      ใบ
พนักงานจ้างทั่วไปปฏิบัติหน้าที่ประจำรถขยะ                                                                           4     คน
                พนักงานทำความสะอาด                                                                                                                    3     คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น