วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
หม้อห้อมมินิมาราธอน ครั้งที่ 14 ประจำปี 2556
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขัน หม้อห้อมมินิมาราธอน ครั้งที่ 14 ประจำปี 2556 เปิดรับสมัคร 3 ประเภท คือ
มินิมาราธอน มีค่าสมัคร 150 บาท พร้อมเสื้อ ระยะทาง 10.5 ก.ม. ,
วิ่งเพื่อสุขภาพ ระยะทาง 3.5 ก.ม. ค่าสมัคร 20 บาท และ
เดินเพื่อสุขภาพ ระยะทาง 3.5 ก.ม.
แข่งขันในวันที่ 5 ธันวาคม 2556
เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 04.00น.เป็นต้นไป สนใจติดต่อซื้อบัตรได้ที่
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง โทร 08-94611640, 081-3874425, 085-4445191
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ประวัติไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งในอดีต
ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่
ท่านเล่าว่า ได้พากันมาจากเมืองพวน แขวงเชียงขวาง
อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเวียงจันทร์
ถ้าหากมีถนนตัดตรงมาจากเมืองเวียงจันทร์
จะมีระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตรเศษ
สาเหตุที่มาจะด้วยถูกต้อนมาหรือหนีภัยมาก็ไม่ทราบแน่ชัด ตอนมาน่าจะมากันหลายครั้ง
ที่มากันเป็นชุดแรกนั้นเป็นบ้านทุ่งโฮ้งใต้
พอพวกบ้านทุ่งโฮ้งเหนือมาถึงปรากฏว่าวัดทุ่งโห้งใต้สร้างเสร็จแล้ว
เมื่ออพยพมาถึงเมืองแพร่แล้ว ก็ไปอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือของบ้านหัวข่วง
เขาเรียกว่า “ประตูเลี้ยงม้า”
ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งก็คงอยู่แถวอนามัยจังหวัดแพร่มาจนถึงวัดสวรรนิเวศปัจจุบัน
ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านทุ่งโฮ้งเดี๋ยวนี้ 3 กิโลเมตร
เพราะได้ขุดบ่อน้ำไว้ด้านทิศเหนือของวัดหนึ่ง ซึ่งบ้างบ้านแถวนั้นเรียกว่า
“บ่อน้ำลาวพวน” และบ่อน้ำนี้ชาวบ้านสวรรคนิเวศก็ยังใช้อาบใช้กินอยู่จนถึงทุกวันนี้
จนกระทั่งต่อมาได้มาพบลำห้วยร่องฟอง ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
บางแห่งมีน้ำลึกท่วมถึงหลังช้าง จึงได้อพยพมาอยู่กันอย่างถาวร
จากคำบอลเล่าของแม่เฒ่าป้อ ส่างแก้ว ตอนท่านเล่าปี พ.ศ. 2525 ขณะนั้นท่านอายุได้ 99 ปี
ว่าบ้านทุ่งโฮ้งใต้น่าจะอพยพมาประมาณปี พ.ศ. 2340-2350 และบ้านทุ่งโห้งเหนือน่าจะอพยพมาประมาณปี
พ.ศ. 2368-2385
จากคำบอกเล่าของแม่เฒ่าเวย สุทธนะ อายุ 87 ปี
พ่อเฒ่าละ เสนาธรรม อายุ 87 ปี และพ่อรส วรินทร์ เป็นต้น
ซึ่งทราบจากผู้เฒ่าผู้แก่รุ่นก่อนๆ เล่าให้ฟังว่า
ผู้ที่มาจากเมืองพวนแต่ละคนอายุเท่าไหร่
และประมาณจากอายุของโบสถ์วัดทุ่งโห้งเหนือแต่ละหลังซึ่งปัจจุบันทำบุญฉลองเมื่อปี
พ.ศ. 2466
ปัจจุบันนี้เมื่อเอาอายุของโบสถ์แต่ละหลังมาร่วมกันแล้วก็คงจะประมาณ 150-160
ปี
ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
หรือชื่อเดิมเรียกว่า “บ้านทั่งโห้ง” คำว่า ทั่ง หมายถึง ทั่งที่รองรับการตีเหล็ก
และคำว่า “โห้ง” เป็นภาษาไทยพวน หมายถึง สถานที่
ที่เป็นแอ่งลึกลงไปเป็นรูปก้นกระทะ
และเมื่อถูกตีเป็นประจำจึงทำให้มันเป็นแอ่งลึกลงไป คนพวนว่ามันโห้งลงไป
สมัยก่อนนั้นควนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีเตาเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน เขาจึงเรียกว่า
“บ้านทั่งโห้ง ส่วนคำว่า ทุ่งโฮ้ง คงจะเป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า ทั่งโห้ง”
อาชีพของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งสมัยก่อน
ในสมัยก่อนคนพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
มีอาชีพตีเหล็ก และจะมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน
อาชีพการตีเหล็กนั้นมาเลิกไปประมาณปี พ.ศ. 2450-2460
และหันมารับจ้างซักลากไม้ซุง (ไม้สัก) จากพวกฝรั่งชาวเดนมาร์กและอังกฤษ
ผู้รับสัมปทานทำไม้สักทั้งหมดในภาคเหนือ
การซักลากไม้จากป่ามารวมหมอนให้ใกล้แม่น้ำนั่น
พวกฝรั่งได้ไปติดต่อหาผู้คนหลายบ้านเมือง เพื่อมาซักลากไม้ออกให้ โดยมี
พ่อเฒ่าหมาด เพ็งเพชร
ซึ่งคนบ้านหาดเสี้ยวได้มาแต่งงานกับสาวพวนบ้านทุ่งโฮ้งได้คิดประดิษฐ์เกวียนหรือชาวบ้านเรียกว่า
“ล้อเหวิ้น” ขึ้นเป็นคันแรก
เพื่อใช้บรรทุกไม้ซุงออกจากป่าโดยใช้ไม้เนื้อแข็งประมาณ 5
นิ้ว กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 140
เซนติเมตร ใช้ไม้ 3 แผ่นต่อกัน แผ่นกลางจะหนามากเพื่อทำเป็นวงล้อเหวิ้น
เพื่อใช้บรรทุกไม้ได้เป็นอย่างดี บางครั้งหากไม้ซุงท่อนใหญ่
และยาวมากก็จะใช้ล้อเหวิ้นถึง 2 คัน ต่อกันเรียกว่า “ลำโยง”
ใช้เทียงด้วยความ 5 คู่ บางครั้งถึง 8
คู่ ใช้ได้ผลเป็นเลิศทีเดียว นับว่าเป็นภูมิปัญญาความสามารถ
มันสมองของบรรพบุรุษไทยพวนโดยแท้จริง
ล้อเหวิ้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งและได้ใช้ล้อเทียมวัว
เพื่อประกอบอาชีพทำมาหากินตลอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)